Saturday, June 18, 2016

ตำแหน่งนางในราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ถัง

        

          
ในสมัยราชวงศ์ถังของจีน ถือได้ว่าเป็นยุคทองของประเทศจีน ทั้งเป็นยุคทองของศักดินา และยุคทองของศิลปวัฒนธรรมจีน โดยเฉพาะด้านวรรณคดี นอกจากนี้ยังรุ่งเรืองทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และศาสนาพุทธ ถือเป็นยุคที่จีนเจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์

     ระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในของวังหลังสมัยราชวงศ์ถังนั้น ใช้ระบบเก้าขั้นที่กำหนดขึ้นมาจากราชสำนักราชวงศ์ถัง ซึ่งใช้สำหรับขุนนาง และชนชั้นสูงในสมัยนั้นด้วย เป็นต้นแบบของการแบ่งระดับขั้นต่างๆ ในราชสำนักเกาหลีและราชสำนักญี่ปุ่นบางยุคในสมัยก่อน โดยระดับและตำแหน่งสตรีฝ่ายในสมัยราชวงศ์ถังนั้น สามารถแบ่งได้ตามลำดับดังนี้


ไท่หวงไท่โฮ่ว 
     หรือรู้จักกันในชื่อ "ไทฮอง
ไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 2 ขั้น หรือเป็นพระอัยยิกาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน อาจจะมีฐานะเป็นพระอัยยิกาแท้ๆ หรือพระอัยยิกาเลี้ยงของจักรพรรดิก็ได้ ไม่นับรวมระดับในระบบเก้าขั้น





หวงไท่โฮ่ว 
     เรียกลำลองว่า ไท่โฮ่ว  หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 1 ขั้น หรือตำแหน่งพระมารดาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน ถ้าจักรพรรดิองค์ปัจจุบันไม่ได้เป็นพระโอรสที่เกิดแต่จักรพรรดินีองค์ก่อน ผู้เป็นพระชายา พระสนม หรือนางในที่เป็นพระมารดาของจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน จะได้รับตำแหน่งเป็นฮองไทเฮาทั้งหมด ในรัชสมัยนั้นจึงอาจมีไทเฮาได้ 2 พระองค์ในเวลาเดียวกัน ไม่นับรวมระดับในระบบเก้าขั้น




หวังกั๋วไท่เฟย 
     เรียกลำลองว่า หวังไท่เฟย  พระชายา พระสนม หรือนางในที่เป็นพระมารดาของพระโอรสในองค์จักรพรรดิที่ได้ดำรงตำแหน่งอ๋อง ในรัชสมัยถัดมาจะมีตำแหน่งเป็นหวังกั๋วไท่เฟย เป็นตำแหน่งที่กำหนดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ไม่นับรวมระดับในระบบเก้าขั้น 
 สำหรับพระชายา พระสนม หรือนางในที่ได้ให้กำเนิดพระธิดา ในรัชสมัยถัดมาจะมีตำแหน่งเป็นไท่อี๋  ซึ่งมีศักดิ์รองลงมาอีกขั้นหนึ่งแทน


หวงโฮ่ว 
     ตำแหน่งจักรพรรดินีองค์ปัจจุบันของจักรพรรดิ หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองเฮา" พระอัครมเหสีเอกซึ่งมีตำแหน่งเดียวและมีศักดิ์สูงสุดในการปกครองฝ่ายใน ไม่นับรวมระดับในระบบเก้าขั้นกับพระชายาและพระสนมอื่นๆ สำหรับพระมารดาขององค์จักรพรรดิที่ไม่ได้เป็นจักรพรรดินี เมื่อสิ้นพระชนม์ก็จะได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาทุกพระองค์ 

 


        สนมขั้นที่ 1 แต่งตั้งได้ตำแหน่งละ 1 คน รวมทั้งหมด 4 คน 
กุุ้ยเฟย  
     พระมเหสี ตำแหน่งพระชายาลำดับที่ 1 ในองค์จักรพรรดิ "พระอัครเทวีผู้สูงศักดิ์ล้ำค่า" 
มีศักดิ์สูงสุดในทั้งหมดสี่ตำแหน่ง



ซู่เฟย 
            พระราชเทวี ตำแหน่งพระชายาลำดับที่ 2 ในองค์จักรพรรดิ "พระราชเทวีผู้บริสุทธิ์และดีงาม"
  

     เต๋อเฟย 
            พระอัครชายา ตำแหน่งพระชายาลำดับที่ 3 ในองค์จักรพรรดิ "พระอัครชายาผู้มีศีลธรรมจริยา"


     เสียนเฟย 
            พระราชชายา   ตำแหน่งพระชายาลำดับที่ 4 ในองค์จักรพรรดิ "พระราชชายาผู้พร้อมด้วยคุณธรรมปัญญา" เป็นตำแหน่งเริ่มต้นของพระชายาจากทั้งหมดสี่ตำแหน่ง 


          สนมขั้นที่ แต่งตั้งได้ตำแหน่งละ 1 คน รวมทั้งหมด 9 คน

จาวหยี ผู้งามเลิศยิ่ง        จาวหรง ผู้มีกิริยางามสง่า      จาวเยี่ยน ผู้งามสง่าจับใจ
ซิวหยี  ผู้มีรูปโฉมวิจิตร    ซิวหรง ผู้มีกิริยางามวิจิตร      ซิวเยี่ยน ผู้งดงามวิจิตร
ฉงหยี ผู้งามตาเพรียบพร้อม     ฉงหรง ผู้มีกิริยางามพร้อม     ฉงเยี่ยน  ผู้สง่างามเพรียบพร้อมยิ่ง


     สนมขั้นที่ 3-5 แต่งตั้งรวมทั้งหมด 27 คน

เจี๋ยอวี้  
      ตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ ขั้น 3 ชั้นเอก เจี๋ยยวี๋ หมายถึง หญิงงามผู้ได้รับความโปรดปรานจากองค์จักรพรรดิ เป็นตำแหน่งสูงสุดของพระสนม แต่ยังไม่เทียบเท่าพระสนมเอก 

เหม่ยเหริน 
       ตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ ขั้น 4 ชั้นเอก เหม่ยเหริน แปลว่า ผู้มีความงดงาม 

ไฉเหริน
       ตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ ขั้น 5 ชั้นเอก ไฉเหริน แปลว่า ผู้ฉลาดปราดเปรื่อง ตำแหน่งเริ่มต้นของสตรีผู้ได้รับคัดเลือกเป็นพระสนม


         สนมขั้นที่ 6-8 แต่งตั้งรวมทั้งหมด 80 คน

เป่าหลิน 
        ตำแหน่งสนมระดับล่างในองค์จักรพรรดิ ขั้น 6 ชั้นเอก เดิมเป่าหลิน มาจาก ชีเป่าซู่หลิน ป่าที่ให้กำเนิดมณีทั้งเจ็ดในศาสนาพุทธของจีน เป่าหลินจึงมีความหมายถึง สิ่งที่สูงค่ายิ่ง

อวี้หนวี่ 
        ตำแหน่งสนมระดับล่างในองค์จักรพรรดิ ขั้น 7 ชั้นเอก ยวี่ แปลว่า เกี่ยวข้องหรือเป็นของจักรพรรดิ ดังนั้น ยวี่หนวี่จึงหมายถึง สตรีในองค์จักรพรรดิ

ไฉหนวี่ 
        ตำแหน่งสนมระดับล่างในองค์จักรพรรดิ ขั้น 8 ชั้นเอก ไฉหนวี่ เป็นคำจากสมัยราชวงศ์ฮั่น หมายถึง สนมที่คัดเลือกจากธิดาครอบครัวสามัญชน ซึ่งเป็นธรรมเนียมในราชวังตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นสืบทอดกันมาจนถึงราชวงศ์ถัง


นางข้าหลวง และนางกำนัล

         สตรีในราชสำนักที่มียศต่ำกว่าสนมขั้นที่ 6 ลงไปมีฐานะเป็นนางข้าหลวงหรือนางกำนัล มีหน้าที่รับผิดชอบงานฝ่ายในในพระราชสำนัก โดยแบ่งภาระหน้าที่ออกเป็น 6 กองงาน  ดังนี้

กองพระราชสำนัก 

         มีหน้าที่ดูแลงานทั่วไปภายในราชสำนัก และกองงานอื่นจะขึ้นตรงต่อกองนี้ หัวหน้ากอง เรียกว่า 
ซั่งกง แบ่งออกเป็น 4 แผนก

แผนกบันทึก : หัวหน้า  , รองหัวหน้า  , ผู้ช่วย 
แผนกเลขานุการ : หัวหน้า  , รองหัวหน้า , ผู้ช่วย
แผนกอักษร : หัวหน้า , รองหัวหน้า  , ผู้ช่วย 
แผนกทวารบาล : หัวหน้า , รองหัวหน้า , ผู้ช่วย 

กองพระราชพิธี  
         
          มีหน้าที่จัดประกอบพิธีต่างๆภายในพระราชสำนัก หัวหน้ากอง เรียกว่า ซั่งอี๋  แบ่งออกเป็น 4 แผนก

แผนกหนังสือเชิญ : หัวหน้า  , รองหัวหน้า , ผู้ช่วย 
แผนกดนตรี : หัวหน้า , รองหัวหน้า , ผู้ช่วย 
แผนกต้อนรับ : หัวหน้า  , รองหัวหน้า  , ผู้ช่วย 
แผนกขับร้อง : หัวหน้า  , รองหัวหน้า , ผู้ช่วย 

กองพระภูษา  

           มีหน้าที่ดูแลเครื่องแต่งกาย งานประดับผ้า รวมถึงจัดประกอบพิธีต่างๆ ด้วย หัวหน้ากอง เรียกว่า ซั่งฝู  แบ่งออกเป็น 4 แผนก

แผนกพระคลัง : หัวหน้า  , รองหัวหน้า , ผู้ช่วย 
แผนกเย็บปัก : หัวหน้า  รองหัวหน้า , ผู้ช่วย 
แผนกเครื่องประดับ : หัวหน้า  , รองหัวหน้า , ผู้ช่วย
แผนกศาสตราวุธ : หัวหน้า รองหัวหน้า , ผู้ช่วย
กองห้องเครื่อง  

           มีหน้าที่ประกอบเครื่องเสวย จัดการดูแลเรื่องสุรา ฟืน และโอสถ หัวหน้ากอง เรียกว่า ซั่งสือ  แบ่งออกเป็น 4 แผนก

แผนกเครื่องเสวย : หัวหน้า , รองหัวหน้า  , ผู้ช่วย 
แผนกน้ำจัณฑ์ : หัวหน้า , รองหัวหน้า , ผู้ช่วย 
แผนกโอสถ : หัวหน้า , รองหัวหน้า , ผู้ช่วย 
แผนกต้นเครื่อง : หัวหน้า  , รองหัวหน้า  ผู้ช่วย 

กองพระตำหนัก  

            มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยทุกตำหนักภายในพระราชสำนัก หัวหน้ากอง เรียกว่า ซั่งฉิ่น  แบ่งออกเป็น 4 แผนก

แผนกสร้าง : หัวหน้า  , รองหัวหน้า , ผู้ช่วย 
แผนกขนส่ง : หัวหน้า , รองหัวหน้า  , ผู้ช่วย 
แผนกอุทยาน : หัวหน้า , รองหัวหน้า , ผู้ช่วย 
แผนกยาม : หัวหน้า , รองหัวหน้า  ผู้ช่วย 

กองศิลป์ 

            มีหน้าที่ดูแลงานศิลป์ภายในพระราชสำนัก หัวหน้ากอง เรียกว่า ซั่งกง แบ่งออกเป็น 4 แผนก

แผนกสร้าง : หัวหน้า , รองหัวหน้า  , ผู้ช่วย 
แผนกสี : หัวหน้า , รองหัวหน้า  , ผู้ช่วย 
แผนกอุปกรณ์ : หัวหน้า , รองหัวหน้า  , ผู้ช่วย 
แผนกออกแบบ : หัวหน้า , รองหัวหน้า , ผู้ช่วย 




credit : http://pantip.com/topic/33197538
          : https://th.wikipedia.org/wiki/ตำแหน่งนางในราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ถัง